ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(Computer Network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้
อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้เป็นการลดต้นทุนขององค์กรเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้

   1) เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย 

ภาพแสดงลักษณะการเชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล
จาก https://kruudsa2011.wordpress.com



    2) เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่า เครือข่ายที่พักอาศัย (home network) ซึ่งอาจใช้การเชื่อมต่อแบบใช้สายหรือไร้สาย



ภาพแสดงลักษณะระบบเครือข่ายแลน
จาก http://networkdesignbyball.weebly.com/
    3) เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป  เช่น  การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน  การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อ เครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส (Campus Area Network: CAN
ภาพแสดงลักษณะระบบเครือข่ายแมน 
จาก https://greentae.wordpress.com/
    4) เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน  (Wide Area Network: WAN)  เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นที่อยู่ไกลกันมาก เช่น เครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภาครวมไปถึงเครือข่ายระหว่างประเทศ
ภาพแสดงลักษณะระบบเครือข่ายแวน
จาก  https://greentae.wordpress.com/
การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์
         กลุ่มของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันเรียกว่า เครือข่าย  ซึ่งเครือข่ายนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียวเท่านั้น  แต่อาจจะประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
         การเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารข้อมูลในระบบเครื่อข่ายมีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (Ring Topology)  เป็นการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากสถานีเชื่อมโยง (Node) หนึ่งไปยังอีกสถานีเชื่อมโยงหนึ่ง  โดยเครื่องหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะเชื่อมตอ่กันทางด้านข้างทั้ง 2 ด้าน จนเกิดเป็นวงกลมหรือลูป (Loop)  การส่งสัญญาณจะมีการรับและส่งข้อมูลต่อกันไปในทิศทางเดียวกัน จนกระทั่งถึงสถานีปลายทาง จากนั้นสถานีปลายทางจะส่งสัญญาณตอบรับว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ภาพแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน
จาก http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/webnot/index611.htm

2. การเชื่อมต่อแบบบัส (Bus Topology) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่าย  จะเชื่อมต่อเข้ากับสายหลักเพียงเส้นเดียว เรียกสายหลักว่า แบ็กโบน (Backbone)

ภาพแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส
https://sites.google.com/a/thoengwit.ac.th/master_site/bi-khwam-ru-thi-1-2

3. การเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเข้ากับจุดศูนย์กลางของเครือข่าย  โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ (Hub) หรือ สวิตซ์ (Switch)

ภาพแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว
จาก https://supachai52.wordpress.com

4. การเชื่อมต่อแบบเมช (Mesh Topology) เป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากและมีประสิทธิภาพสูง เพราะเมื่อเส้นทางของการเชื่อมต่อข้อมูลคู่ใดคู่หนึ่งเกิดปัญหาหรือขาดจากกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างกันายังสามารถติดต่อกันได้ด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (Router) ซึ่งจะเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ไปยังจัดหมายปลายทางโดยอัตโนมัติ โครงสร้างเครือข่ายแบบเมชมักเป็นเครือข่ายแบบไร้สาย


ภาพแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเมช
จาก https://sites.google.com/a/thoengwit.ac.th/master_site/bi-khwam-ru-thi-1-2

5. การเชื่อมต่อแบบผสม (Hybrid Topology)  เป็นการผสมผสานรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบวงแหวน การเชื่อมต่อแบบบัส หรือการเชื่อมต่อแบบดาว โดยออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง

ภาพแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม
จาก https://sites.google.com/a/thoengwit.ac.th/master_site/bi-khwam-ru-thi-1-2
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
          ในการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารข้อมูลระหวางเครือข่าย จำเป็นต้องมีอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลที่ใช้เชื่อมต่อ  เพื่อให้ข้อมูลที่ส่งไปสามารถสื่อสารถึงปลายทางและสามารถแปลความหมายได้ตรงกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีดังนี้
          1. โมเด็ม (Modem)
      MODEM มาจากคำเต็มว่า Modulator – DEModulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล ที่ได้รับจากเครื่องส่งหรือคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณแบบอนาลอก เรียกว่า โมดูเลชัน โมเด็มที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า โมดูเลเตอร์ (Modulator) ก่อนทำการส่งไปยังปลายทางต่อไป โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ และเมื่อส่งถึงปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอนาลอกให้เป็นดิจิตอล เรียกว่า ดีโมดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า ดีโมดูเลเตอร์ (Demodulator) เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง
ภาพแสดง อุปกรณ์โมเด็ม
จาก http://itsentre.blogspot.com/2013/03/modem.html
      โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางสายโทรศัพท์ สำหรับโมเด็มที่นิยมใช้งานกันจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ แบบติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์(Internal) และแบบที่ติดตั้งภายนอกโดยใช้เสียบเข้าที่ด้านหลังของเครื่อง (External) สำหรับความเร็วของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 56 Kbps
             ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก คู่สายโทรศัพท์ได้รับการพัฒนาเป็นแบบดิจิตอลมากขึ้น โมเด็มแบบดิืจิตอล เช่น ADSL Modem, Cable Modem เป็นต้น ด้วยคู่สายแบบดิจิตอลทำให้มีความเร็วสูงถึง 24 Mbps และเทคโนโลยี 3G ที่เริ่มแพร่หลาย ได้รับความนิยมกันมากสำหรับผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือผู้ที่เชื่อต่อผ่านทางแอร์การ์ด ความเร็วของ ระบบ 3G จะอยู่ที่ประมาณ 7.2 Mbps

2. การ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายหรือแลนการ์ด (Network Interface Card : NIC)
    เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายเคเบิล  การ์ดนี้ส่วนใหญ่จะติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเสียบลงบนแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์  ส่วนช่องทางในการรับส่งข้อมูลในการเชื่อมต่อกับสายเคเบิลจะอยู่ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ การ์ดนี้ช่วยในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น



ภาพแสดง แลนการ์ด
จาก http://www.huaikrot.ac.th/web/network/lession3/net5.htm

3. ฮับ (HUB)   ฮับเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสายเคเบิลในเครือข่ายมีลักษณะเป็นช่องเสียบสายเคเบิลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับบริการ

                       
    ภาพแสดง Ethernet Hub                                  ภาพแสดง Firewire Hub
        ภาพแสดง Usb Hub

จาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1203451/unit002/unit02_04.htm

4. สวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเช่นเดียกับฮับ แต่การรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังทุกจุดเหมือนฮับ เพราะสวิตจะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใด จึงจะส่งต่อไปยังเป้าหมายอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการชนกันของข้อมูล และป้องกันการดักรับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
จาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1203451/unit002/unit02_04.htm

5. รีพีทเตอร์ (Repeater)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนตัวกลางนำสัญญาณจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง เช่น จากไฟเบอร์ออปติกมายังโคแอ๊กเชียล หรือการเชื่อมระหว่างตัวกลางเดียวกันก็ได้ การใช้รีพีทเตอร์จะทำให้เครือข่ายทั้งสองเสมือนเชื่อมกัน โดยที่สัญญาณจะวิ่งทะลุถึงกันได้หมด รีพีทเตอร์จึงไม่มีการกันข้อมูล แต่จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณโดยไม่สนใจว่าข้อมูลที่ส่งเข้ามาจะเคยถูกรบกวนหรือผิดเพี้ยนประการใด แต่จะมีหน้าที่ส่งให้อุปกรณ์ต่อไปซึ่งจะได้ประโยชน์ในการเชื่อมต่อความยาวให้ยาวขึ้น
จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan5.htm

6. บริดจ์ (Bridge)  เป็นอุปกรณ์ที่มักจะเชื่อมต่อเครือข่ายแลนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของเครือข่ายแลนออกไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อย ๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ได้
จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan6.htm

7. อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (Router)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการทำงานที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์มาก โดยเราเตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า เราติงเทเบิล (Routing Table)  ทำให้เราเตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพแสดงอุปกรณ์เราเตอร์
จาก http://www.comgeeks.net/router/

ภาพแสดงเราเตอร์ไร้สาย
จาก http://www.buycoms.com/advertorial/112/Modem%20BILLION/BILLION%20BIPAC%207100G%20.htm

8. เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัดทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอลที่แตกต่างกัน  เกตเวย์จะแปลงโปรโตคอลให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัวจะรวมคุณสมบัติในการเป็นเราเตอร์ด้วยในตัว หรืออาจรวมเอาฟังก์ชันการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall)  เข้าไว้ด้วย

ภาพแสดงอุปกรณ์เกตเวย์
จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan9.htm

ภาพแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์เกตเวย์
จาก http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/NetWork/gateway.htm

9. จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless Access Point) หรือ WAP หรือเรียกสั้นๆว่า AP คือ อุปกรณ์ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้อุปกรณ์ไร้สายสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบมีสายได้โดยการใช้เทคโนโลยีของแลนไร้สาย หรือ มาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง. AP มักจะเชื่อมต่อกับเราต์เตอร์ด้วยสายเคเบิล (ผ่านเครือข่าย แบบมีสาย) ซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์ แยกต่างหาก หรือเป็นส่วนหนึ่งของเราเตอร์นั้น 

ภาพแสดงอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น